SolidWorks Flow Simulation
COURSE OVERVIEW
เป็นหลักสูตรสอนการใช้งานโปรแกรม SolidWorks Flow Simulation เหมาะสำหรับผู้ใช้งานโปรแกรม SolidWorks ที่ต้องการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับ การไหล ทั้งปัญหาการไหลภายใน และการไหลภายนอก หลักสูตรครอบคลุม พื้นฐานของไหล การเตรียมชิ้นงานเพื่อการวิเคราะห์ การควบคุมการ Mesh การกำหนดค่าเพื่อการวิเคราะห์ ทั้งในส่วนของ Steady state analysis, Transient analysis, Conjugate heat transfer analysis, Open/close system analysis และการดูผลการคำนวณแบบต่างๆ
จุดเด่นของหลักสูตร
- พัฒนาให้เหมาะกับคนไทยจากหลักสูตรมาตรฐานของต่างประเทศ
- เน้นภาคปฏิบัติผ่านกรณีศึกษา (Case Study) ผนวกกับทฤษฎีพื้นฐานทางวิศวกรรมที่จำเป็น
- สอนโดยทีมวิศวกรและนักวิชาการผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้าน Engineering Simulation
ผู้ที่เหมาะเข้าร่วมอบรม
- วิศวกรผู้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านต่างๆ
- อาจารย์ นักวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสอน SolidWorks
- นักศึกษาด้านวิศวกรรม
รูปแบบการสอน
- บรรยายประกอบการใช้ซอฟแวร์ SolidWorks ชั้นนำ
- เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 คน ต่อ 1 เครื่อง จำนวนผู้อบรมไม่เกิน 15 ท่าน
ความรู้พื้นฐานของผู้เข้าอบรม
ผู้อบรมควรมีความรู้พื้นฐานหรือผ่านคอร์ส SolidWorks Essentials มาก่อนและควรมีพื้นฐานการใช้งานคอมพิวเตอร์เช่น การเปิด ปิด โปรแกรม บันทึกไฟล์ คัดลอก ย้าย หรือลบไฟล์ เป็นต้น
เนื้อหาบทเรียน
-
วันที่ 1
การสร้างการวิเคราะห์ด้วย SOLIDWORKS Flow Simulation
- การจัดเตรียมชิ้นงานสำหรับการวิเคราะห์การไหลของไหลด้วย
SOLIDWORKS Flow Simulation
- การสร้างช่องปิดขอบเขตการวิเคราะห์การไหล (Lids)
- การตรวจสอบรูปร่างและขอบเขตการวิเคราะห์การไหล
- การคำนวณและพิจารณาปริมาตรการไหล
- การสร้างกรณีศึกษา โดยการใช้ Project Wizard
- การกำหนดเงื่อนไขขอบเขตปริมาตรการไหล (Boundary Conditions)
- การกำหนดเป้าหมายการวิเคราะห์การไหล (Goals)
- การพิจารณาการการวิเคราะห์
- การแสดงผลการคำนวณระหว่างการทำการวิเคราะห์
- การแสดงผลเฉลยการวิเคราะห์การแบ่งชิ้นงานเป็นส่วนเรขาคณิตย่อยเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ (Mesh)
- การกำหนด Mesh ที่เหมาะสมสำหรับการพิจารณาชิ้นงานที่มีผิวบาง
และช่องว่างระหว่างชิ้นงาน
- การใช้คำสั่ง Mesh
- การแสดง Mesh
- การกำหนด Mesh สำหรับงานที่มีผิวบาง
- การแบ่ง Mesh และการใช้ระนาบควบคุมการสร้าง Meshการวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อน (Thermal Analysis)
- การใช้ข้อมูล Engineering Database สำหรับการกำหนดวัสดุ
- การกำหนดแหล่งกำเนิดความร้อน (Heat Loading)
- การกำหนดเงื่อนไข การสร้างพัดลม สำหรับการวิเคราะห์การไหล
- การพิจารณา แผ่นรูปรุ (Perforated Plates) สำหรับการวิเคราะห์การไหล
- การพิจารณาชุดประกอบอิเล็กทรอนิกส์
- การจัดการชุดประกอบและรายละเอียด เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการวิเคราะห์
การไหลการไหลภายนอก (External Flow) ที่มีลักษณะไม่คงตัว (Transient Analysis)
- การพิจารณาการวิเคราะห์การไหลเป็น 2 มิติ
- การใช้สมการ Reynolds number เพื่อกำหนดเงื่อนไขของขอบเขต
ปริมาตรการไหลแบบการไหลภายนอก
- การใช้ Adaptive Mesh Refeinement Option เพื่อพิจารณาผลเฉลย
- การสร้างภาพเคลื่อนไหว จากผลการวิเคราะห์ที่มีลักษณะไม่คงตัวการวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนแบบคอนจูเกต (Conjugate Heat Transfer)
- การวิเคราะห์ Conjugate Heat Transfer ที่สภาวะคงตัว ของแผ่นระบายความร้อน
- การกำหนดของไหลหลายชนิดสำหรับการวิเคราะห์
- การกำหนดลักษณะของก๊าซจริง (Real Gas)
- การแสดงกราฟอุณหภูมิ ในพื้นที่ชิ้นงาน (Solid Regions) และพื้นที่ช่องของไหล
(Fluid Regions)การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค EFD Zooming
- การใช้เทคนิค EFD Zooming ช่วยพิจารณาชิ้นงานประกอบที่มีความซับซ้อน
- การถ่ายโอน (Transfer) ขอบเขตปริมาตรการไหล (Boundary Conditions)
จากระบบหลัก เพื่อพิจารณา EFD Zooming -
วันที่ 2
การวิเคราะห์การไหลผ่านวัสดุพรุน (Porous Media)
- สร้างการวิเคราะห์การไหล และการกำหนดวัสดุพรุน (Porous Media)
- การใช้คำสั่ง Component Control เพื่อเลือกพิจารณาชิ้นงานในชุดประกอบ
- การพิจารณาพฤติกรรมการไหลผ่านวัสดุพรุน (Porous Media)การวิเคราะห์ชิ้นงานหมุน โดยกำหนดกรอบขอบเขตให้มีการหมุน (Rotating Reference Frames)
- การเลือกขอบเขตการวิเคราะห์การไหลเพื่อให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่มีการหมุน
เป็นวงกลมรอบแกน
- ขั้นตอนการกำหนดวิธีการวิเคราะห์การไหลโดยการใช้ Rotating Reference
Flowการศึกษาพฤติกรรมการสร้างเงื่อนไขปรับเปลี่ยนตัวแปร (Parametric Study) วิเคราะห์หาผลเฉลยที่ดีที่สุด
- สร้างการวิเคราะห์การไหลและสร้างเงื่อนไขปรับเปลี่ยนตัวแปรเพื่อหาค่า
ที่เหมาะสม
- กำหนดความสมมาตรชิ้นงานเพื่อลดรูปการวิเคราะห์
- การพิจารณาผลการวิเคระห์การไหลเมื่อมีการปรับเปลี่ยนค่าตัวแปรการเกิดโพรงอากาศ (Cavitation)
- การเลือกการวิเคราะห์แบบ Cavitation flow
- การแสดงผลการวิเคราะห์เพื่อพิจารณา Cavitationการวิเคราะห์ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity)
- การกำหนดความชื้นสัมพัทธ์เป็นเงื่อนไขขอบเขตปริมาตรการไหล
(Boundary Conditions)
- การแสดงผลการวิเคราะห์ความชื้นสัมพัทธ์
การศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนตัวของอนุภาคในของไหล (Particle Trajectory)
- การกำหนดลักษณะทางกายภาพของอนุภาคที่จะเติมในกระแสการไหล
- การใช้คำสั่ง Particle Study
- การแสดงพฤติกรรมของอนุภาคที่เกิดการเคลื่อนที่ในกระแสของไหลการวิเคราะห์การไหลที่มีความเร็วเหนือเสียง (Supersonic Flow)
- การสร้างการวิเคราะห์การไหลที่มีความเร็วเหนือเสียง (Supersonic Flow)
- การใช้ Adaptive Mesh เพื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์การไหลที่มีความเร็วเหนือ
เสียง (Supersonic Flow)
- การแสดงผลการวิเคราะห์ด้วย Mach numberFEA Load Transfer
- การนำผลการวิเคราะห์การไหล วิเคราะห์ความเสียหายด้วยไฟไนต์เอลิเมนต์ (FEA
Load Transfer)
- การสร้างกรณีศึกษาการวิเคราะห์ความเสียหาย (SOLIDWORKS Simulation)
โดยใช้ข้อมูลการวิเคราะห์
การไหล(SOLIDWORKS Flow Simulation) เป็นเงื่อนไขขอบเขตปริมาตรการ
ไหล (Boundary Conditions)
- การแสดงผลการวิเคราะห์ความเสียหายใน SOLIDWORKS Simulation