SolidWorks Essentials
COURSE OVERVIEW
เป็นหลักสูตรการอบรมพื้นฐานการใช้งานโปรแกรม SolidWorks เพื่อใช้ใน การออกแบบชิ้นงานทางเครื่องกลเป็นหลัก โดยกล่าวถึงหลักการของการสร้างชิ้นงาน (Part) และการสร้างชิ้นงานประกอบ (Assembly) แบบพาราเมตริก Parametric Solid) รวมถึงการสร้างเอกสารแบบสั่งงาน (Drawing) จากโมเดลชิ้นงาน หลักสูตรนี้จะเน้นการทำงาน ขั้นพื้นฐานรวมถึงหลักการในการออกแบบเบื้องต้น การใช้งานคำสั่งในการเขียนชิ้นงานเบื้องต้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการใช้งานโปรแกรม SolidWorks ในระดับต่อๆไป
หลักสูตรสำหรับ : วิศวกร ช่างผู้ชำนาญการ นักศึกษา และผู้ที่สนใจที่มีพื้นฐานการใช้โปรแกรม SolidWorks
ความรู้พื้นฐานของผู้อบรม
ผู้อบรมไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานของ SolidWorks แต่ควรมีพื้นฐานการใช้งานคอมพิวเตอร์เช่น การเปิด ปิด โปรแกรม บันทึกไฟล์ คัดลอก ย้าย หรือลบไฟล์
เนื้อหาบทเรียน
-
วันที่ 1
การทำงานขั้นพื้นฐานและหน้าต่างใช้งานของโปรแกรม Solidworks
- ทำความเข้าใจกับลักษณะการทำงานขั้นพื้นฐานของโปรแกรม
- ทำความรู้จักกับประเภทของคำสั่งต่างๆ ในโปรแกรม
- ทำความรู้จักกับหน้าต่างใช้งานของโปรแกรม
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนที่แตกต่างกันในการออกแบบชิ้นงานในโปรแกรมการร่างเส้นเชิงเรขาคณิต (Sketch)
- การสร้างเอกสารชิ้นงานใหม่
- การเข้าโหมดการสร้างรูปเรขาคณิต (Sketch Mode)
- การใช้เครื่องมือที่ช่วยในการสร้างเส้นรูปร่างเรขาคณิต
- การสร้างรูปร่างเรขาคณิตการเริ่มต้นในการสร้างรูปร่างเรขาคณิต
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเส้นรูปร่างเรขาคณิต
- ทำความเข้าใจสถานะของเส้นรูปร่างเรขาคณิต
- การใช้คำสั่งแปลงเส้นรูปร่างเรขาคณิตเป็นรูปทรงชิ้นงาน3มิติ (Extruded)
- การแก้ไขชิ้นงาน
- ทำแบบฝึกหัดพื้นฐานการออกแบบชิ้นงาน
- การเลือกสร้างรูปร่างเรขาคณิตในด้านที่เหมาะสมกับการนำไปขึ้นรูป
- การเลือกสร้างรูปร่างเรขาคณิตบนระนาบที่เหมาะสม
- การใช้คำสั่งแปลงเส้นรูปร่างเรขาคณิตเพื่อตัดเนื้อรูปทรงชิ้นงาน3มิติ (Extruded Cut)
- การใช้คำสั่งเจาะรูมาตรฐาน (Holes Wizard)
- การใช้คำสั่งลบขอบคมของชิ้นงาน
- การแทรกขั้นตอนคำสั่ง (Rollback)พื้นฐานการออกแบบชิ้นงาน (การสร้างแบบสั่งผลิต)
- สร้างแบบสั่งผลิตของชิ้นงานขั้นพื้นฐาน
- การกำหนดขนาดและการแก้ไขขนาด
- การทำงานที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างชิ้นงานกับแบบสั่งผลิต
- ทำแบบฝึกหัด -
วันที่ 2
การออกแบบชิ้นงานหล่อขึ้นรูป/งานตีขึ้นรูป (เทคนิคการทำสมมาตรและทำผิวเอียง)
- การเลือกใช้งานการแสดงผลแบบต่างๆของโปรแกรม
- การแก้ไขชิ้นงานและเปลี่ยนแปลงของชิ้นงานหลังการแก้ไข (regenerate)
- การเลือกใช้เงื่อนไขของการยืดออกของเนื้อชิ้นงานให้เหมาะสม
- การทำสมมาตรในการร่างเส้นรูปร่าง
- การคัดลอกคำสั่งเพื่อใช้ซ้ำ
- ทำแบบฝึกหัดการสร้างชุดสำเนา
- การสร้างชุดสำเนาในแนวเส้นตรง
- การสร้างชุดสำเนาในแนววงกลม
- การสร้างชุดสำเนาเฉพาะรูปร่างการสร้างชุดสำเนา (ต่อ)
- การสร้างระนาบอ้างอิงและแกนอ้างอิง
- การสร้างชุดสำเนาแบบกลับด้าน
- การสร้างชุดสำเนาคัดลอกเฉพาะแม่แบบ
- การสร้างชุดสำเนาตามตำแหน่งจุดบนเส้นร่าง
- การใช้คำสั่งช่วยในการกำหนดให้สมบูรณ์
- ทำแบบฝึกหัดการสร้างชิ้นงานชุดมือหมุนบังคับเลี้ยว (Hand Wheel)
- การใช้คำสั่งสร้างชิ้นงานแบบหมุนรอบแกน (Revolved)
- การใช้เทคการให้ขนาดแบบพิเศษจากเส้นแกนทรงกระบอก
- เทคนิควิธีการขึ้นรูปแบบด้วยชิ้นงานหลายก้อน
- การสร้างเนื้อชิ้นงานด้วยคำสั่ง Swept
- ทำแบบฝึกหัด -
วันที่ 3
การวิเคราะห์ความแข็งแรงของชิ้นงานโดยใช้ SimulationXpress
- การคำนวณคุณสมบัติทางกายภาพของชิ้นส่วน
- การวิเคราะห์ความเค้นของชิ้นงานการให้ชิ้นงานมีลักษณะกลวงและการสร้างส่วนเสริมความแข็งแรงให้ชิ้นงาน
- การทำผิวเอียงให้กับผิวชิ้นงาน
- การใช้คำสั่งทำให้ชิ้นงานกลวง (Shell)
- การสร้างส่วนเสริมความแข็งแรงให้ชิ้นงาน
- การสร้างชิ้นงานผนังบางการแก้ไข : การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการ Error
- การวิเคราะห์ปัญหาจากการ Error ในไฟล์ part
- การแก้ไขรูปร่างเรขาคณิตที่ไม่สามารถนำไปขึ้นรูปชิ้นงานได้
- การใช้ Rollback bar เข้ามาช่วยแก้ไขไฟล์ที่ Error
- การแก้ไขขนาดและความสัมพันธ์ของรูปร่างเรขาคณิตที่ผิดพลาด
- การแก้ปัญหา Error จากคำสั่งลบขอบคมของชิ้นงานการแก้ไข : เปลี่ยนแปลงรูปแบบชิ้นงาน
- ทำความเข้าใจลำดับในการใช้คำสั่งออกแบบชิ้นงานเพื่อการวางแผนปรับแก้
- การใช้เครื่องมือในส่วนต่างๆ เพื่อช่วยให้สะดวกต่อการปรับแก้แบบ
- การเลือกใช้รูปร่างเรขาคณิตบางส่วนในการใช้คำสั่งเกี่ยวกับเนื้อชิ้นงาน
Configurations ของชิ้นงาน
- การใช้ configurations สร้างชิ้นงานที่มีลักษณะแตกต่างกันให้อยู่ในไฟล์เดียวกัน
- การใช้ตาราง modify configurationsในการสร้างและแก้ไข configurations
- การใช้คำสั่ง Suppress และ unsuppress คำสั่ง (features) ใน SOLIDWORKS
- การเปลี่ยนขนาดชิ้นงานด้วย configuration.
- การ Suppress features ด้วย ตาราง configuration
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงชิ้นงานด้วย configuration.
- การใช้ Design Library เพื่อเพิ่มคำสั่ง (features) ให้กับชิ้นงาน -
วันที่ 4
ตัวแปรกลางและสมการ
- การเปลี่ยนชื่อ ขนาด, รูปร่าง และคำสั่ง
- การใช้ค่าตัวแปรกลางเชื่อมโยงค่าขนาดชิ้นงาน
- การใช้สมการเชื่อมโยงค่าขนาดของชิ้นงาน
การใช้งานโปรแกรมในโหมดแบบสั่งผลิต
- การวางภาพฉายลักษณะต่างๆ ในแบบสั่งผลิต
- การปรับแต่งมุมมองและขนาดของการวางภาพในมุมมองต่างๆ
- การใส่รายละเอียดสัญลักษณ์ต่างๆ ให้กับแบบสั่งผลิตการสร้างชุดชิ้นงานประกอบ (Assembly)
- การสร้างชุดชิ้นงานประกอบใหม่
- การเพิ่มชิ้นงานเข้าไปในการประกอบด้วยวิธีต่างๆ
- การเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นงานแต่ละชิ้น ใน Assembly
- การใช้ Feature Manager Design tree ในการสร้าง Assembly
เพื่อจัดระเบียบและจัดการชุดชิ้นงานใน Assembly
- การเพิ่มชุดชิ้นงานประกอบย่อย เข้าไปใน Assembly หลัก
- การใช้ชิ้นงานที่มี configurations ในการสร้าง Assemblyการใช้งานโปรแกรมในโหมดแบบงานประกอบ
- การตรวจสอบการทับซ้อนกันของชิ้นงาน part ในชิ้นงานประกอบ
- การเช็คพฤติกรรมในการเคลื่อนที่ที่เป็นไปได้จริงของชิ้นงานประกอบ
- การวางภาพการกระจายตัวของชิ้นงานประกอบ
- การใส่เส้นร่างบอกแนวการประกอบของชิ้นงาน
- การใส่ตาราง BOM ให้กับชิ้นงานประกอบ
- การนำตาราง BOM ไปวางในแบบสั่งผลิต
- การใช้งานคำสั่ง Pack and Goสอบวัดผลการอบรม