การวิเคราะห์ความเสียหายเครื่องจักรด้วยวิธี FEA ใน SOLIDWORKS Simulation
COURSE OVERVIEW
การออกแบบงานทางอุตสาหกรรมทุกวันนี้อาจไม่ได้จบแค่การที่ได้ชิ้นงานที่มีรูปร่างหรือสามารถทำงานได้ตามที่ต้องการเท่านั้น หากแต่จะต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนของวัสดุที่เลือกใช้ น้ำหนัก ความแข็งแรง และอายุการใช้งาน ที่เหมาะสม ซึ่งเครื่องมือสำคัญสำหรับการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพคือ CAE (Computer Aided Engineering) เพราะจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถออกแบบงาน และวิเคราะห์พฤติกรรมการทำงานที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ น้ำหนัก ความแข็งแรง อายุการใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถปรับหรือเปลี่ยนรูปร่าง รวมถึงวัสดุเพื่อวิเคราะห์ซ้ำจนมั่นใจก่อนที่จะสร้างงานจริง ทำให้การออกแบบเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ประหยัดระยะเวลา และต้นทุนมากยิ่งขึ้น
หลักสูตรสำหรับ : หัวหน้างาน วิศวกร ช่างผู้ชำนาญการ นักศึกษา และผู้ที่สนใจการวิเคราะห์ความเสียหายด้วย SOLIDWORKS SIMULATION
คุณสมบัติของผู้เรียน
- มีพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ มีพื้นฐานการใช้งาน Windows
- มีพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม 3 มิติ (SOLIDWORKS เบื้องต้น: หากผ่านหลักสูตรอบรม SOLIDWORKS Essentials จะช่วยให้เข้าใจการอบรมมากยิ่งขึ้น)
จุดประสงค์
- ผู้อบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Analysis, FEA) ขั้นพื้นฐาน
- ผู้อบรมมีความเข้าใจหลักการและวิธีการเกี่ยวกับ SOLIDWORKS SIMULATION เพื่อวิเคราะห์ความเสียหาย
- ผู้อบรมมีความเข้าใจและสามารถเลือกรูปแบบการวิเคราะห์ความเสียหายทั้ง 1 มิติ, 2 มิติ และ 3 มิติ ได้อย่างเหมาะสม
- ผู้อบรมสามารถประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ความเสียหายกับตัวอย่างงานทางวิศวกรรมได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
- เข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Analysis, FEA) ขั้นพื้นฐาน
- เข้าใจหลักการและวิธีการเกี่ยวกับ SOLIDWORKS SIMULATION เพื่อวิเคราะห์ความเสียหาย
- สามารถเลือกรูปแบบการวิเคราะห์ความเสียหายทั้ง 1 มิติ, 2 มิติ และ 3 มิติ ได้อย่างเหมาะสม
- สามารถประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ความเสียหายกับตัวอย่างงานทางวิศวกรรมได้
เนื้อหาบทเรียน
-
วันที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Analysis, FEA)
- การแก้ปัญหาทางวิศวกรรม
- วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
- ซอฟต์แวร์โซลิดเวิรกส์ (SOLIDWORKS)
- ประโยชน์ของวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์การวิเคราะห์วัสดุท่อน (1D Beam Element)
- สมการพื้นฐาน
- วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
- ตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้ : ปัญหาโครงสร้าง 1 มิติ, ปัญหาโครงสร้าง 2 วัสดุท่อน
- ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ : ปัญหาโครงสร้าง 21 วัสดุท่อนการวิเคราะห์คานและโครงสร้าง
- สมการพื้นฐาน
- วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
- ตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้ : ปัญหาโครงสร้าง 21 คาน
- ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ : การวิเคราะห์ชิ้นงาน Conveyor Frame
- การกำหนด Joints Group
- ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ : ปัญหาโครงสร้าง 21 วัสดุท่อนการวิเคราะห์คานและโครงสร้าง
- สมการพื้นฐาน
- วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
- ตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้ : ปัญหาโครงสร้าง 21 คาน
- ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ : การวิเคราะห์ชิ้นงาน Conveyor Frame
- การกำหนด Joints Group
- การกำหนดจุดจับยึด immovable และ Fixed Geometry
- การแสดงผลด้วยรูปหน้าตัดชิ้นงานเสมือนจริง render beam diagramการวิเคราะห์ความยืดหยุ่นใน 2 มิติ (2D Shell Element)
- สมการพื้นฐาน
- วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
- ตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้ : ปัญหาแผ่นบางมีรูกลมตรงกลางการวิเคราะห์แผ่นบาง
- สมการพื้นฐาน
- วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
- ตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้ : ปัญหาการโก่งของแผ่นบาง
- ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ : การวิเคราะห์ลูกรอกทรงกระบอกที่ถูกแรงกระทำด้านข้าง
- การสร้าง Shell mesh จากการเลือก Surface
- การวิเคราะห์ผล Shell mesh
- การตรวจสอบความเค้นสูงสุดบนผิวนอกและผิวใน ของ Shell mesh -
วันที่ 2
การวิเคราะห์ความยืดหยุ่นใน 3 มิติ (3D Solid Element)
- สมการพื้นฐาน
- วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
- ตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้ : ปัญหาชิ้นงาน 3 มิติ
- ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ : การวิเคราะห์คีมจับชิ้นงานและการกำหนด Contact
- การกำหนดเงื่อนไขของ Contact และการใช้งาน
- ประเภทและรายละเอียด contact
- การวิเคราะห์งานประเภทชุดประกอบ (Assembly) อย่างง่าย
- ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ : การวิเคราะห์ลิฟท์ยกแบบกรรไกร (scissor lift)
- การกำหนด Pin, Hinge และ Virtual wall
- การใช้คำสั่ง Interaction Viewer
- การแสดงผลลัพธ์ของแรง Reaction force, Contact/Friction force
- ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ : การสร้างกรณีศึกษาเพื่อการวิเคราะห์ (Design Study)
- การทำความเข้าใจและกำหนดกรณีศึกษา (Design Study) ในการวิเคราะห์
- หาค่าที่เหมาะสม จากการออกแบบ